สารคดีติดตามจรัล ดิษฐาภิชัยผู้ลี้ภัยการเมืองชาวไทยในกรุงปารีส ในการเดินทางเชิงเปรียบเปรยกลับบ้านเกิดของเขา สารคดีได้ปลดเปลื้องอาณาเขตทางการเมืองออก ผ่านคลังเอกสารของหอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส ท่ามกลางความเปราะบางของท่วงมนุษย์ที่เผยตัวออกมา ท่ามกลางปัจจุบันอันเฉยเมยที่มีเพียงมือกีตาร์ ซากปรักหักพัง และสายน้ำที่ไม่เคยหยุดไหล ใบหน้าที่ถูกลืมเลือนและถูกทิ้งไว้ใต้ผืนน้ำปรากฏขึ้นอีกครั้ง ขณะที่เราตั้งคำถามว่าพวกเขาได้เห็นอะไร ได้เป็นพยานต่อเหตุการณ์ใดบ้าง ระหว่างช่วงการกำหนดพรมแดนของประเทศไทย
Director’s Statement :
ผมเติบโตในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แต่ประเทศไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของตัวตนของผมเสมอ ทั้งในภาษา อากัปกิริยาในชีวิตประจำวัน และความสัมพันธ์ทางสังคม (ครอบครัว เพื่อนฝูง ฯลฯ) อย่างไรก็ตาม สถานะของผมมักเป็น "คนนอก" อยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้ผมกลายเป็น "ผู้ฟัง" เมื่อผมได้พบกับคุณจรัล ดิษฐาอภิชัยในปารีส ซึ่งเป็นที่ที่เขาลี้ภัยไปอยู่ตั้งแต่ปี 2016 ผมพยายามทำความเข้าใจว่า “การอยู่ในภาวะระหว่างกลาง” และ “การถูกพรากจากถิ่นฐาน” นั้นมีความหมายอย่างไร ในขณะที่เขาเปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวกับผม ผมก็รู้สึกถึงแรงกระตุ้นที่จะย้อนกลับไปหาต้นตอของปัญหา สิ่งนี้พาผมย้อนไปถึงยุคอาณานิคม ยุคสมัยที่เรื่องราวของประเทศไทยถูกเขียนโดยมหาอำนาจตะวันตก ผ่านเอกสารจดหมายเหตุที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วทวีปยุโรป
โดเมนิโก สิงห์ เปโดรลิ (เกิดปี 1994) เป็นผู้สร้างภาพยนตร์ลูกครึ่งสวิส-ไทย ประจำอยู่ที่ปารีสและกรุงเทพฯ ผลงานของเขามีลักษณะพหุวัฒนธรรมและสหวิทยาการ ใช้แนวทางการเล่าเรื่องที่ซับซ้อนเพื่อสำรวจประเด็นเกี่ยวกับร่องรอย อัตลักษณ์ และพลัดถิ่น — ในความเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งของสิ่งเหล่านี้ เขาเริ่มต้นด้วยการศึกษาด้านสถาปัตยกรรมที่ USI และทัศนศิลป์ที่ Le Fresnoy – Studio national ทำให้เขาพัฒนาความสามารถในการสร้างผลงานภาพถ่าย ภาพยนตร์ วิดีโออาร์ต และสื่อ VR
Au Revoir Siamเป็นโปรเจกต์ล่าสุดของเขาที่มีลักษณะข้ามแขนง ว่าด้วยผู้ลี้ภัยการเมืองไทยและการสร้างพรมแดนในบริบทอาณานิคม งานชิ้นนี้ได้รับการนำเสนอในหลายเวที เช่น Visions du Réel (สวิตเซอร์แลนด์), San Diego Asian Film Festival (สหรัฐอเมริกา) และ Beijing International Short Film Festival (จีน) Another Place เป็นงาน VR ที่พาผู้ชมเข้าไปสัมผัส เรเน่ หญิงข้ามเพศผู้ลี้ภัยในฝรั่งเศสอย่างใกล้ชิด ผลงานนี้ได้รับการจัดแสดงในเทศกาล NewImages Festival ที่ปารีส
ปัจจุบัน เขาเป็นศิลปินในโครงการพำนักของ Istituto Svizzero ณ กรุงโรม โดยกำลังพัฒนาภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก ซึ่งหยิบ Metamorphoses ของโอวิดมาเป็นจุดตั้งต้น เพื่อสำรวจว่าความบอบช้ำ (trauma) เปลี่ยนแปลงร่างกายอย่างไร และจากจุดนั้น เสียงของตนเองสามารถกลับคืนมาได้อย่างไร งานทดลองชิ้นแรกในแนวคิดนี้คือ Tale of Myrrha ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเทศกาล Bangkok Experimental Film Festival ปี 2025
Filmography :
Sunsets (2020)
Thin Clouds (2021)
Tierra Utopia (2023)
Au Revoir Siam (2024)
Another Place (2025)
Tale of Myrrha (2025)
Notes on a River Film (2025)