The juries
กรรมการนานาชาติ
Wood Lin

วูด หลิน เกิดเมื่อปี 1981 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากสถาบันบัณฑิตศึกษาด้านเสียงและภาพ มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติไถหนาน เขาเป็นนักวิจารณ์ภาพยนตร์และผู้จัดเทศกาลภาพยนตร์ที่เชี่ยวชาญด้านสารคดี เคยเป็นกรรมการตัดสินในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติหลายแห่ง ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการของเทศกาลภาพยนตร์สารคดีนานาชาติไต้หวัน (TIDF) และที่ปรึกษาโครงการของเทศกาลภาพยนตร์สารคดีนานาชาติอัมสเตอร์ดัม (IDFA)

กรรมการนานาชาติ
Makiko Wakai

มากิโกะ วาคาอิ เป็นผู้ประสานงานโครงการ New Asian Currents ของเทศกาลภาพยนตร์สารคดีนานาชาติ Yamagata (YIDFF) ซึ่งมุ่งหวังที่จะจัดแสดงและรวบรวมผู้สร้างภาพยนตร์หน้าใหม่จากทั่วภูมิภาค

ผลงานที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ที่เธอกำลังดำเนินอยู่ ได้แก่ FAV (เทศกาลวิดีโอสารคดีเพื่อสิทธิสตรี) ซึ่งจัดจำหน่ายและฉายภาพยนตร์อิสระในญี่ปุ่น กลุ่มวิดีโอ Video Juku ซึ่งทำงานเพื่อบันทึกและเก็บบันทึกคำรับรองของ "สตรีบำเรอกาม" ในอดีต โครงการสารคดีภาพในมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งจัดแสดงภาพยนตร์สารคดีสั้นตามธีมเฉพาะทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโครงการสารคดีกว่าทศวรรษเกี่ยวกับครอบครัวชาวญี่ปุ่น-ฟิลิปปินส์ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านอาซาฮี ยามากาตะ ซึ่งทำให้เธอใช้เวลาหนึ่งปีในบาตาอัน ฟิลิปปินส์ (ทุน API 2012-2013) ปัจจุบันเธอทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงการของเทศกาลสารคดีนานาชาติอัมสเตอร์ดัม (IDFA)

กรรมการนานาชาติ
Kim Dongryung

คิมทงรยอง สำเร็จการศึกษาวิชาเอกวรรณคดีอังกฤษและการสร้างภาพยนตร์จาก KAFA และมหาวิทยาลัยปารีส 8 ในปี 2004 เธอเริ่มถ่ายภาพ ผลิตภาพยนตร์สั้น และสารคดีเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของผู้คนในเมืองค่ายทหารสหรัฐฯ ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง American Alley (2008) เกี่ยวกับผู้หญิงชาวต่างชาติที่ทำงานให้ความบันเทิงในค่ายทหารสหรัฐฯ ได้รับรางวัล Ogawa Shinsuke Prize จากเทศกาลภาพยนตร์สารคดีนานาชาติ Yamagata ต่อมาเธอร่วมงานกับพัค คยองแท กำกับ Tour of Duty (2012) สารคดีเกี่ยวกับพัค อินซุน อดีต ‘หญิงบำเรอ’ ในกองทัพสหรัฐฯ

กรรมการนานาชาติ
Zhang Mengqi

จางเหมิงฉีเกิดเมื่อปี 1987 สำเร็จการศึกษาจากสถาบันนาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยหมินสูเมื่อปี 2008 และนับตั้งแต่ปี 2010 เธอก็สร้างภาพยนตร์สารคดีขนาดยาวปีละเรื่อง ซึ่งถ่ายทำในหมู่บ้านของพ่อเธอในมณฑลเหอเป่ย อันรู้จักกันในชื่อ "ซีรีส์ภาพเหมือนตนเอง" ของเธอ ซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่กินเวลาร่วม 10 ปี โดยเป็นการสำรวจประวัติศาสตร์และความจริงอันกระจ่างแจ้ง ภาพยนตร์ของเธอได้รับการคัดเลือกจากเทศกาลภาพยนตร์สารคดีนานาชาติยามากาตะ, Cinéma du Réel, Visions du Réel, RIDM เป็นต้น 

กรรมการนานาชาติ
Peter Yam

ปีเตอร์ ยัม เป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ฮ่องกงและสมาชิกของ AMPAS Documentary Branch “Yellowing” ได้รับรางวัล Ogawa Shinsuke Award จากเทศกาลภาพยนตร์สารคดีนานาชาติ Yamagata “Lost Coruse” ได้รับรางวัล Golden Horse Award สาขาสารคดียอดเยี่ยม “Blue Island” ได้รับรางวัลภาพยนตร์สารคดีนานาชาติยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์สารคดี Hot Docs ของแคนาดา “The Sunny Side of the Street” ได้รับรางวัล Golden Horse Award สาขาผู้กำกับหน้าใหม่ยอดเยี่ยม นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม และบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม “ROOM 404” ได้เข้าร่วมงาน Berlinale Forum Expanded ครั้งที่ 74 และ “Another Home” ได้รับรางวัล Mecenat Award จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน (2024)

กรรมการไทย
Chulayarnnon Siriphol

จุฬญาณนนท์ ศิริผล (เกิด พ.ศ. 2529) เป็นศิลปินและผู้สร้างภาพยนตร์ที่พำนักและทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ เขาสร้างสรรค์ผลงานภาพเคลื่อนไหวและใช้ร่างกายตนเองเป็นสื่อหลักหลากหลายรูปแบบ ทั้งภาพยนตร์สั้น วิดีโอทดลอง ศิลปะการแสดง และวิดีโอจัดวาง ปฏิบัติการทางศิลปะของเขาทำงานกับเรื่องเล่า ตำนาน และเศษเสี้ยวของประวัติศาสตร์ ทั้งในและนอกสังคมไทย

เขาได้รับรางวัล Special Mention จาก Singapore International Film Festival (2557), ทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 23 (2567) และล่าสุด รางวัล Grand Prize จาก Taoyuan International Art Award (2568) จากผลงาน Red Eagle Sangmorakot: No More Hero In His Story ผลงานของเขาได้รับการจัดแสดงทั้งในไทยและต่างประเทศ อาทิ เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ (2561) จากผลงานภาพยนตร์เรื่อง 10 Years Thailand นิทรรศการเดี่ยว ได้แก่ Museum of Kirati (2560) Give Us A Little More Time (2563), Red Eagle Sangmorakot: Action Paining (2567), The Golden Snail Series (2568), และ I a Pixel, We the People (2568) รวมถึงนิทรรศการกลุ่มสำคัญ เช่น Soil and Stones, Souls and Songs (2560), Nation, Narration, Narcosis (2564), Exterior: The Science of Collective Consciousness (2566), Archival Time on Our Retina (2568) และ โลกร้าว: เรื่องเล่าขนาดย่อมจากเส้นทางโฮจิมินห์ถึงทุ่งหญ้าสเต็ปป์ (2568)

กรรมการไทย
Kornpat Pawakranond

กรภัทร ภวัครานนท์ เป็นนักทำหนังหน้าใหม่ เรียนจบจากคณะ Bachelor of Arts จาก School of Architecture and Design (SoA+D) KMUTT และ MA Filmmaking จาก London Film School โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งทั้งสองมหาวิทยาลัย

เธอเริ่มเส้นทางการทำงานในตำแหน่งครีเอทีฟในวงการโฆษณา ก่อนไปเรียนต่อด้านการกำกับภาพยนตร์ที่ London Film School ในช่วงปี 2016 ด้วยความที่เป็นคนชอบตั้งคำถามกับทุกอย่าง เธอเริ่มสงสัยในความเป็นตัวตนของเธอ และเลือกทำภาพยนตร์สารคดีเชิงสังเกตการณ์ (Observational Documentary) โดยติดตามชีวิตเจ้าดวงเดือน ผู้ซึ่งเป็นยายแท้ ๆ ของเธอ และเป็นที่มาของภาพยนตร์สารคดีเรื่อง The Lost Princess

“FERMATA” ผลงานหนังสั้นเรื่องแรกของเธอได้เข้าฉายในเทศกาล New Media Festival ที่เกาหลีใต้ และ Bangkok Student Short Film ในปี 2010 นอกจากนั้นเธอยังมีผลงานในวงการโฆษณาที่ได้รับรางวัล ADMAN สองรางวัลในปี 2013 และมีชิ้นงานที่ได้รับเลือกฉายใน NOWNESS Asia ปัจจุบันกรภัทรกำลังพัฒนาภาพยนตร์เรื่องใหม่ที่ได้ทุนจาก ContentLab Thailand 2024

กรรมการไทย
Pimchanok Puksuk

พิมพ์ชนก พุกสุข เป็นคอลัมนิสต์ที่สนใจเกี่ยวกับภาพยนตร์และวัฒนธรรมกระแสหลัก เธอเขียนงานวิจารณ์, บทความ, งานสัมภาษณ์ว่าด้วยคนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 31 และเคยได้รางวัลชมเชยจากกองทุนหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ จากบทความวิจารณ์ภาพยนตร์ประจำปี 2024

กรรมการไทย
Nakorn Chaisri

นคร ไชยศรี เป็นคนทำหนังอิสระและผู้ออกแบบเทศกาลภาพยนตร์ เป็นหนึ่งในทีมคัดเลือกภาพยนตร์ของเทศกาลภาพยนตร์ต่าง ๆ อาทิ AFI Fest, AFI Docs, Los Angeles Asian Pacific Film Festival และเทศกาลภาพยนตร์สั้น ปัจจุบันเขาทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายสร้างสรรค์ของเทศกาลหนังสั้น "โลกป่วยเราต้องเปลี่ยน" ซึ่งเป็นเทศกาลที่มุ่งขับเคลื่อนประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านภาพยนตร์

กรรมการไทย
Aekaphong Saransate

เอกพงษ์ สราญเศรษฐ์ เป็นคนทำหนังอิสระ เขาเติบโตที่สงขลา จังหวัดริมทะเลทางใต้ของประเทศไทย จบการศึกษาด้านภาพยนตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเริ่มต้นอาชีพในฐานะผู้กำกับและผู้ตัดต่อสารคดีโทรทัศน์

ในปี 2015 หนังสั้นเรื่องแรกของเอกพงษ์ เรื่อง "ฝน" ซึ่งถ่ายทอดความรักเร้นลับของนักเรียนมัธยมสองคน ได้รับรางวัลขุนวิจิตรมาตรา ในงานเทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 19 และคว้ารางวัลชนะเลิศ Young Thai Artist Award จากนั้นในปี 2018 เขาทำสารคดีสั้นเรื่อง "คลื่นทรงจำ" ซึ่งเล่าเรื่องราวการเสียชีวิตอย่างลึกลับของลุงของเขา งานชิ้นนี้ชนะรางวัลสารคดียอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 22

ในปี 2024 เขาเปิดตัวสารคดีเรื่องยาวเรื่องแรกคือ "BREAKING THE CYCLE" (อำนาจ ศรัทธา อนาคต) ที่เขากำกับร่วมกับ ธนกฤต ดวงมณีพร หนังติดตามนักการเมืองรุ่นใหม่ผู้ต่อต้านการสืบทอดอำนาจของเผด็จการ และจุดประกายการเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในช่วงการเลือกตั้งครั้งล่าสุดของประเทศไทย ผลงานชิ้นนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสารคดียอดเยี่ยม Asia Pacific Screen Awards